วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2550

การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ ICTเพื่อการศึกษา

สรุปผลการพัฒนา และส่งเสริมการใช้ ICT เพื่อการศึกษา
ปัจจุบันการดำเนินงานตามพันธกิจสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการได้มีความก้าวหน้า ดังผลการดำเนินงาน ทั้งที่ผ่านมาในปีการศึกษา ๒๕๔๕ (งบประมาณปี ๒๕๔๕–๒๕๔๖) และแผนการดำเนินงาน ตามแผนแม่บทด้านICTปีงบประมาณ ๒๕๔๗–๒๕๔๙ หรือในปีการศึกษา ๒๕๔๗ เป็นต้นไป ดังนี้
๑. การส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้พัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
เป้าหมาย
ตามแผนกำหนดให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่๖ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ได้มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะทางด้านการใช้ ICT สามารถค้นหาแหล่งเรียนรู้และใช้ e-mail ในการสื่อสารได้ รวมทั้งสามารถเขียนโปรแกรมได้ในระดับมัธยมปลาย
ผลดำเนินงานในปัจจุบัน
โดยสรุปในการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พอจะสรุปได้ดังนี้
๑. การพัฒนาขีดความสามารถ ในด้านความรู้ความเข้าใจ และทักษะการใช้ประโยชน์จากระบบอินเตอร์เน็ต ของนักเรียนที่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ นักเรียนที่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ในปีการศึกษา ๒๕๔๕ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ และในปีการศึกษา ๒๕๔๖ ก็ได้ตั้งเป้าหมายไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๕ ที่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จะได้รับการอบรมให้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถค้นหาแหล่งเรียนรู้ในระบบอินเตอร์เน็ตและใช้อินเตอร์เน็ตในการสื่อสารกันได้ โดยใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาทั้งในและนอกสังกัด รวมทั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในชุมชนและสังคม
๒. การพัฒนาขีดความสามารถในด้านความรู้ความเข้าใจและทักษะการใช้ประโยชน์จากระบบอินเตอร์เน็ต ของนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่๓ และปีที่ ๖ นักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่๓ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่๖ในปีการศึกษา๒๕๔๕ เป็นต้นมา ทุกคนสามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในสำนักงานและใช้ตารางคำนวณได้ รวมทั้งสามารถใช้อินเตอร์เน็ตในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ และการสืบค้นข้อมูลได้ และในขณะเดียวกันนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ไม่น้อยกว่าร้อยละ๕ มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมได้
๓.การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบด้าน ICT กระทรวงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัย ๕ แห่งพัฒนารูปแบบของโรงเรียนต้นแบบด้าน ICT จำนวน ๑๐ แห่ง (ประถมศึกษา ๕ แห่ง มัธยมศึกษา ๕ แห่ง) และได้ร่วมมือกับภาคเอกชนคัดเลือกสถานศึกษาที่มีความพร้อมไม่ต่ำกว่า ๑๘๐ แห่ง เพื่ออบรมเตรียมความพร้อมของครูและสถานศึกษาในการนำ ICTมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และหากไม่มีปัญหาอุปสรรค กระทรวงคาดว่าจะสามารถดำเนินการให้ครบทุกโรงเรียนในปีการศึกษา ๒๕๔๙ โดยจะเริ่มในปีการศึกษา ๒๕๔๖ เป็นต้นไป
แผนดำเนินการในระยะต่อไป (ตามแผนในปีงบประมาณ๒๕๔๗–๒๕๔๙)
๑.เร่งรัด ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักเรียน โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคนจะสามารถใช้ ICT ได้อย่างมีประสิทธิภาพในปีการศึกษา ๒๕๔๙ และจะมีความสามารถในการใช้ICTได้ในเกณฑ์ที่ดีขึ้นตามลำดับอย่างต่อเนื่อง
และในปีการศึกษา๒๕๔๖เป็นต้นไป สถานศึกษาไม่ต่ำกว่าร้อยละ๘๐ จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ สื่ออุปกรณ์และระบบเครือข่ายเพื่อใช้ในการเรียนการสอนในปริมาณสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น และเหมาะสมมากขึ้น เนื่องจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นต้นว่า กระทรวงICT และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ได้มีแผนและนโยบายที่ชัดเจนในการร่วมสนับสนุนและให้ความร่วมมือในภารกิจด้านการศึกษาและการพัฒนาการเรียนรู้ของปวงชนทุกระดับ
๒.เร่งรัด ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาทุกแห่งสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายเข้าถึงกัน และใช้ทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งนี้จะขอความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยทุกแห่ง รวมทั้งชุมชนและภาคเอกชนที่มีความพร้อมร่วมกันพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยใช้ICTเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ต่อไป อย่างต่อเนื่องจนครบทุกสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม
๒. การพัฒนาบุคลากร
เป้าหมาย
กระทรวงศึกษาธิการ มีแผนจะพัฒนาครูและอาจารย์ทุกคนให้มีความรู้ความสามารถมีทักษะในการใช้ ICT และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งาน ได้อย่างเหมาะสม โดยกำหนดหลักสูตรในการพัฒนาไว้ ๖ เรื่องหลัก คือ ๑) คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเบื้องต้น ๒) IT Network Administration ๓)การใช้โปรแกรมระดับ Advance Course ๔) การพัฒนาสื่อเนื้อหาการเรียนรู้ ๕) การใช้โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน ๖) การฝึกอบรมแกนนำและการฝึกอบรมทางไกลของ สสวท.
ผลดำเนินงานในปัจจุบัน
การพัฒนาครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาให้มีทักษะประสบการณ์ในด้าน ICT ในช่วงปลายปีการศึกษา ๒๕๔๔- ๒๕๔๕ ได้เร่งรัดพัฒนาครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ได้ไม่ต่ำกว่า ๓๕๓,๔๐๗ คน หรือร้อยละ๕๗ จากจำนวนครูอาจารย์ทั้งหมดประมาณ ๖ แสนคน ให้มีทักษะ ประสบการณ์ในด้านICT โดยใช้ทรัพยากรจากโรงเรียน สถาบันการศึกษา และได้รับการสนับสนุนจากโครงการความร่วมมือทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งการจัดอบรมทางไกลตามหลักสูตรของ สสวท.

ไม่มีความคิดเห็น: