วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2550

การสอนสื่อภาษาด้วยเพลง

สอนภาษาเพื่อการสื่อสาร .... ด้วยเพลง เป็นเรื่องเก่ามากๆ ที่คุณครูหลายๆท่านใช้ในการจัดการเรียนรู้ ใช้ได้ดี
ทุกท่านตระหนักดี ครูอ้อยอาจจะนำมะพร้าวห้าวมาขายสวน...ก็ได้ในงานนี้ ก็ถือว่า...ได้อ่านหนังสืออ่านเล่นที่มีแนวการเขียนซ้ำที่เคยอ่านมา..ไม่ว่ากัน
วันนี้ ครูอ้อยใช้เพลงในการจัดการเรียนรู้เต็มระบบ ตามแบบของครูอ้อย...
ที่ว่า.....เต็มระบบ หมายความว่า ครูอ้อยไม่ได้สอนเนื้อหา หรือการร้องเพลง แต่เพียงอย่างเดียว
ครูอ้อยยังให้นักเรียนเรียนรู้การทำงานด้วยระบบกลุ่ม ซึ่งจะต้องมีกระบวนการ อันก่อให้เกิดเจตคติ ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ Desired Character ที่เป็นเรื่องที่สำคัญที่ควรนำไปสู่การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้..
นักเรียนส่วนใหญ่...ช้อบ ชอบ กับการเรียนแบบนี้ เพราะนักเรียนได้ออกท่าทางตามใจชอบที่ออกแบบด้วยตนเอง ตามความหมายของเนื้อเพลง เช่น The dog on the bus go bowwow bowwow bowwow
นักเรียนจะทำเสียงร้องของสุนัขได้น่ารัก เหมาะสมกับวัย นักเรียนจะร่วมมือกันร้องเพลง ทำเสียงสุนัขได้น่ารัก
ออกแบบการแสดงได้ดี เท่ากับว่า...กล้าแสดงออกในสิ่งที่ควรกระทำ สัปดาห์หน้า นักเรียนจะได้แสดงนะคะ ครูอ้อยจะภ่ายภาพมาให้ชมค่ะ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการอบรมหลักสูตร"การประยุกต์ใช้ ICTเพื่อการสอน"

ประโยชน์ที่ได้รับ จากการอบรมหลักสูตร"การประยุกต์ใช้ ICTเพื่อการสอน" ส่งผลโดยตรงต่อครูผู้สอน เพื่อร่วมงานและต่อสถานศึกษา ดังนี้
ประโยชน์ที่เกิดขึ้นส่งผลโดยตรงต่อหัวหน้างาน ลูกน้อง และต่อองค์กร ดังนี้
ประโยชน์ที่เกิดขึ้นส่งผลต่อหัวหน้างาน
1) การสอนงานจะช่วยแบ่งเบาภาระงาน เนื่องจากลูกน้องทำงานได้อย่างถูกต้อง ส่งมอบงาน
ตามเวลาที่กำหนด
2) มีเวลาเพียงพอที่จะคิดพิจารณา ปรับปรุงระบบงาน ขั้นตอนและวิธีการทำงานให้มี
ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ช่วยเหลือลูกน้องอย่างแท้จริง
3) มีโอกาสชี้แจงจุดเด่นหรือจุดที่ต้องการให้ลูกน้องปรับปรุงการทำงาน
4) สามารถแจ้งให้ลูกน้องรู้ถึงวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์และปัญหาการเปลี่ยนแปลง การเตรียม
ความพร้อมในด้านต่าง ๆ ขององค์กร
5) มีโอกาสรับรู้ความต้องการที่ลูกน้องคาดหวัง และปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นในการทำงานของลูกน้อง
6) สร้างสัมพันธภาพที่ดีในการทำงานระหว่างหัวหน้างานและลูกน้อง
7) เป็นกระบวนการหนึ่งที่ใช้ผลักดันและสนับสนุนให้ลูกน้องทำงานให้บรรลุเป้าหมาย (Performance Goal) ตามแผนงานที่กำหนด
8) ส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศของการทำงานร่วมกันเป็นทีม
ประโยชน์ที่เกิดขึ้นส่งผลต่อลูกน้อง
1) เข้าใจขอบเขต เป้าหมายของงานและความต้องการที่หัวหน้าคาดหวัง
2) ได้รับรู้ถึงสถานการเปลี่ยนแปลง ปัญหาและอุปสรรคขององค์การ ภารกิจที่องค์กรจะทำใน
ปัจจุบันและต้องการที่จะทำต่อไปในอนาคต
3) ได้รับรู้ถึงปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นในการทำงานร่วมกับหัวหน้างานและมีส่วนร่วมกับ
หัวหน้างานในการพิจารณาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
4) มีโอกาสรู้จุดแข็ง จุดอ่อนของตน เพื่อสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5) รู้จักวางแผน ลำดับความสำคัญก่อน-หลังของงาน รับรู้เทคนิควิธีการทำงานให้ประสบ
ความสำเร็จตามเป้าหมายและระยะเวลาที่หัวหน้างานกำหนด
6) สร้างขวัญ กำลังใจ ทำให้ไม่รู้สึกว่าตนเองทำงานเพียงผู้เดียว
7) เป็นแรงจูงใจ กระตุ้นให้ลูกน้องปรับปรุงตนเอง สนใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เสมอ
8) ส่งเสริมให้ลูกน้องมีคุณค่า (Value) ในการทำงานมากขึ้น เนื่องจากการสอนงานที่ถูกต้อง
ตามความต้องการของลูกน้อง ช่วยตอบสนองให้ลูกน้องทำงานได้บรรลุเป้าหมายของตนเอง
ประโยชน์ที่เกิดขึ้นส่งผลต่อองค์กร
1) องค์กรมีผลการปฏิบัติงาน (Organization Performance) ที่เป็นไปตามความคาดหวัง หรือ
มากกว่าความคาดหวังที่ต้องการ
2) องค์กรมีความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ เนื่องจาก
การสอนงานทำให้เจ้าหน้าที่มีความพร้อมต่อการปรับเปลี่ยนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นนโยบาย การทำงาน กลยุทธ์ ขั้นตอน วิธีการทำงาน การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้

การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ ICTเพื่อการศึกษา

สรุปผลการพัฒนา และส่งเสริมการใช้ ICT เพื่อการศึกษา
ปัจจุบันการดำเนินงานตามพันธกิจสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการได้มีความก้าวหน้า ดังผลการดำเนินงาน ทั้งที่ผ่านมาในปีการศึกษา ๒๕๔๕ (งบประมาณปี ๒๕๔๕–๒๕๔๖) และแผนการดำเนินงาน ตามแผนแม่บทด้านICTปีงบประมาณ ๒๕๔๗–๒๕๔๙ หรือในปีการศึกษา ๒๕๔๗ เป็นต้นไป ดังนี้
๑. การส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้พัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
เป้าหมาย
ตามแผนกำหนดให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่๖ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ได้มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะทางด้านการใช้ ICT สามารถค้นหาแหล่งเรียนรู้และใช้ e-mail ในการสื่อสารได้ รวมทั้งสามารถเขียนโปรแกรมได้ในระดับมัธยมปลาย
ผลดำเนินงานในปัจจุบัน
โดยสรุปในการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พอจะสรุปได้ดังนี้
๑. การพัฒนาขีดความสามารถ ในด้านความรู้ความเข้าใจ และทักษะการใช้ประโยชน์จากระบบอินเตอร์เน็ต ของนักเรียนที่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ นักเรียนที่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ในปีการศึกษา ๒๕๔๕ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ และในปีการศึกษา ๒๕๔๖ ก็ได้ตั้งเป้าหมายไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๕ ที่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จะได้รับการอบรมให้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถค้นหาแหล่งเรียนรู้ในระบบอินเตอร์เน็ตและใช้อินเตอร์เน็ตในการสื่อสารกันได้ โดยใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาทั้งในและนอกสังกัด รวมทั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในชุมชนและสังคม
๒. การพัฒนาขีดความสามารถในด้านความรู้ความเข้าใจและทักษะการใช้ประโยชน์จากระบบอินเตอร์เน็ต ของนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่๓ และปีที่ ๖ นักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่๓ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่๖ในปีการศึกษา๒๕๔๕ เป็นต้นมา ทุกคนสามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในสำนักงานและใช้ตารางคำนวณได้ รวมทั้งสามารถใช้อินเตอร์เน็ตในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ และการสืบค้นข้อมูลได้ และในขณะเดียวกันนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ไม่น้อยกว่าร้อยละ๕ มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมได้
๓.การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบด้าน ICT กระทรวงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัย ๕ แห่งพัฒนารูปแบบของโรงเรียนต้นแบบด้าน ICT จำนวน ๑๐ แห่ง (ประถมศึกษา ๕ แห่ง มัธยมศึกษา ๕ แห่ง) และได้ร่วมมือกับภาคเอกชนคัดเลือกสถานศึกษาที่มีความพร้อมไม่ต่ำกว่า ๑๘๐ แห่ง เพื่ออบรมเตรียมความพร้อมของครูและสถานศึกษาในการนำ ICTมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และหากไม่มีปัญหาอุปสรรค กระทรวงคาดว่าจะสามารถดำเนินการให้ครบทุกโรงเรียนในปีการศึกษา ๒๕๔๙ โดยจะเริ่มในปีการศึกษา ๒๕๔๖ เป็นต้นไป
แผนดำเนินการในระยะต่อไป (ตามแผนในปีงบประมาณ๒๕๔๗–๒๕๔๙)
๑.เร่งรัด ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักเรียน โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคนจะสามารถใช้ ICT ได้อย่างมีประสิทธิภาพในปีการศึกษา ๒๕๔๙ และจะมีความสามารถในการใช้ICTได้ในเกณฑ์ที่ดีขึ้นตามลำดับอย่างต่อเนื่อง
และในปีการศึกษา๒๕๔๖เป็นต้นไป สถานศึกษาไม่ต่ำกว่าร้อยละ๘๐ จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ สื่ออุปกรณ์และระบบเครือข่ายเพื่อใช้ในการเรียนการสอนในปริมาณสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น และเหมาะสมมากขึ้น เนื่องจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นต้นว่า กระทรวงICT และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ได้มีแผนและนโยบายที่ชัดเจนในการร่วมสนับสนุนและให้ความร่วมมือในภารกิจด้านการศึกษาและการพัฒนาการเรียนรู้ของปวงชนทุกระดับ
๒.เร่งรัด ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาทุกแห่งสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายเข้าถึงกัน และใช้ทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งนี้จะขอความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยทุกแห่ง รวมทั้งชุมชนและภาคเอกชนที่มีความพร้อมร่วมกันพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยใช้ICTเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ต่อไป อย่างต่อเนื่องจนครบทุกสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม
๒. การพัฒนาบุคลากร
เป้าหมาย
กระทรวงศึกษาธิการ มีแผนจะพัฒนาครูและอาจารย์ทุกคนให้มีความรู้ความสามารถมีทักษะในการใช้ ICT และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งาน ได้อย่างเหมาะสม โดยกำหนดหลักสูตรในการพัฒนาไว้ ๖ เรื่องหลัก คือ ๑) คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเบื้องต้น ๒) IT Network Administration ๓)การใช้โปรแกรมระดับ Advance Course ๔) การพัฒนาสื่อเนื้อหาการเรียนรู้ ๕) การใช้โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน ๖) การฝึกอบรมแกนนำและการฝึกอบรมทางไกลของ สสวท.
ผลดำเนินงานในปัจจุบัน
การพัฒนาครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาให้มีทักษะประสบการณ์ในด้าน ICT ในช่วงปลายปีการศึกษา ๒๕๔๔- ๒๕๔๕ ได้เร่งรัดพัฒนาครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ได้ไม่ต่ำกว่า ๓๕๓,๔๐๗ คน หรือร้อยละ๕๗ จากจำนวนครูอาจารย์ทั้งหมดประมาณ ๖ แสนคน ให้มีทักษะ ประสบการณ์ในด้านICT โดยใช้ทรัพยากรจากโรงเรียน สถาบันการศึกษา และได้รับการสนับสนุนจากโครงการความร่วมมือทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งการจัดอบรมทางไกลตามหลักสูตรของ สสวท.